Pages

Monday, August 17, 2020

ETC เข้าซื้อขายในตลาด mai วันแรก 18 ส.ค. นี้ - ฐานเศรษฐกิจ

jengkolpasar.blogspot.com

บมจ. เอิร์ธ เท็ค เอนไวรอนเมนท์ พร้อมเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ 18 ส.ค. นี้ ใช้ชื่อย่อ “ETC” ด้วยมูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO 5,824 ล้านบาท เผยผลประกอบการครึ่งปีแรกกำไรสุทธิ 85 ล้านบาท โตพุ่ง 135% 


นายประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ mai ยินดีต้อนรับ บมจ. เอิร์ธ เท็ค เอนไวรอนเมนท์ เข้าจดทะเบียนและเริ่มซื้อขายใน mai ภายใต้กลุ่มทรัพยากร โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า “ETC” ในวันที่ 18 สิงหาคม 2563

ETC และบริษัทย่อยประกอบธุรกิจ ผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าโดยใช้เชื้อเพลิงที่ได้มาจากการแปรรูปขยะอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นอันตราย หรือเรียกโดยทั่วไปว่าเชื้อเพลิง RDF (Refuse Derived Fuel) ปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าที่มีสัญญากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) แล้วจำนวน 16.50 เมกะวัตต์ ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม 3 จังหวัด ได้แก่ จ. สระบุรี จ. อยุธยา และ จ. พิจิตร

ETC เป็นบริษัทย่อยของ บมจ.เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน (BWG) ซึ่งเป็นผู้รับบริหารกำจัดกากอุตสาหกรรมรายใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศไทย
ETC มีทุนชำระแล้ว 1,120 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญเดิม 1,640 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเพิ่มทุน 600 ล้านหุ้น โดยเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 95.8 ล้านหุ้นต่อผู้ถือหุ้นของ BWG (Pre-emptive Right) เมื่อวันที่ 4-6 สิงหาคม และเสนอขายต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) 504.20 ล้านหุ้น เมื่อวันที่ 7, 10-11 สิงหาคม ในราคาหุ้นละ 2.60 บาท คิดเป็นมูลค่าระดมทุน 1,560 ล้านบาท มีมูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO 5,824 ล้านบาท 

ทั้งนี้ มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกินให้แก่ผู้ลงทุนจำนวน 60 ล้านหุ้น ในราคาเดียวกัน การกำหนดราคาเสนอขายหุ้น IPO คิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (P/E ratio) ที่ 85.82 เท่า คำนวณจากกำไรสุทธิใน 4 ไตรมาสล่าสุด (ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2562 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563) ซึ่งเท่ากับ 67.86 ล้านบาท หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นครั้งนี้ (fully diluted) คิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.03 บาท มี บมจ. หลักทรัพย์เคทีบี (ประเทศไทย) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และ บล. ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่าย


นายเอกรินทร์ เหลืองวิริยะ กรรมการผู้จัดการ บมจ. เอิร์ธ เท็ค เอนไวรอนเมนท์ (ETC) เปิดเผยว่าเงินที่ได้จากการระดมทุนในครั้งนี้จะนำไปใช้ในการขยายธุรกิจของ ETC และบริษัทย่อยของ ETC ชำระคืนเงินกู้ และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบธุรกิจ

ETC มีผู้ถือหุ้นใหญ่หลัง IPO 3 อันดับแรก ได้แก่ บมจ. เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน ถือหุ้น 43.93% นายภัคพล งามลักษณ์ ถือหุ้น 19.44% และบมจ. อัคคีปราการ ถือหุ้น 7.14% บริษัทมีนโยบายจ่ายปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่น้อยกว่า 50% ของกำไรสุทธิของงบการเงินเฉพาะกิจการ ภายหลังจากหักเงินทุนสำรองต่าง ๆ ตามกฎหมาย  
 

ด้านผลประกอบการงวดครึ่งปีแรก บริษัทมีรายได้จากการจำหน่ายไฟฟ้ารวม 311 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 93% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้รวม 161 ล้านบาทและมีกำไรสุทธิ 85 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 135% จากกำไรสุทธิ 36 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีก่อน
 
สำหรับงบไตรมาส 2/63 บริษัทมีรายได้รวม 176 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 105% จากรายได้รวม 86 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรขั้นต้น 99 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 102% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 62 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 203% (QoQ) และ เพิ่มขึ้น 170% (YoY)  จากกำไรสุทธิ 23 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีก่อน

ผลประกอบการที่เติบโตสูงมาจากการที่บริษัทสามารถรับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้าขยะครบทั้ง 3 แห่ง ที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 16.50 เมกะวัตต์ เป็นไตรมาสแรก จากเดิมในปีทีแล้ว ETC รับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้าเพียงแห่งเดียวที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 8 เมกะวัตต์

นอกจากนี้ โรงไฟฟ้าใหม่ทั้ง 2 แห่ง คือ โรงไฟฟ้าขยะ RH และโรงไฟฟ้าขยะ AVA มีอัตรารับซื้อไฟฟ้าแบบ FiT สูงถึง 6.83 บาท/หน่วย  ซึ่งเป็นอัตราการรับซื้อไฟฟ้าที่สูงสุดเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงประเภทอื่น และทำให้มีอัตรากำไรต่อเมกะวัตต์ค่อนข้างสูง

โดยในไตรมาส 2/63 นี้ ETC มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงถึง 56.25% และมีอัตรากำไรสุทธิ สูงถึง 35% อัตรารายได้รวมและอัตรากำไรของไตรมาส 2 นี้ อาจใช้เป็นมาตรฐานของการดำเนินงานของบริษัทฯ เนื่องจากเป็นผลการดำเนินงานที่มาจากการรับรู้รายได้จากการขายไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง

ส่วนแนวโน้มธุรกิจในช่วงครึ่งปีหลังนี้ บริษัทมีแผนการขยายกิจการในอนาคต โดยได้ศึกษาและวางแผนที่จะประมูลโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดต่างๆ ของภาครัฐ อาทิ เช่นโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน 700 เมกะวัตต์ โครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชน 400 เมกะวัตต์ และ โรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม 44 เมกะวัตต์ ซึ่งทั้งหมดคาดว่าจะเปิดประมูลปลายปีนี้

บริษัทมีความมั่นใจด้วยศักยภาพของบริษัทและบริษัทแม่ คือ บมจ. เบตเตอร์เวิลด์ กรีน (BWG) ซึ่งเป็นผู้นำอันดับ 1 ด้านการรับบริหารกำจัดกากอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญ และมีปริมาณขยะอัดก้อน(RDF) ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่สำคัญ และมีบริษัทย่อย ที่เป็นผู้รับเหมาในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะและชีวมวลแบบครบวงจร (EPC) จะสามารถประมูลโรงไฟฟ้าได้หลายโครงการ และสร้างการเติบโตให้กับ ETC ได้อย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง" นายเอกรินทร์ กล่าว


Let's block ads! (Why?)


August 17, 2020 at 08:23PM
https://ift.tt/3g6OT3h

ETC เข้าซื้อขายในตลาด mai วันแรก 18 ส.ค. นี้ - ฐานเศรษฐกิจ
https://ift.tt/3azMLPC
Home To Blog

No comments:

Post a Comment