Pages

Friday, August 14, 2020

การรุกตลาดเมียนมาด้วยงบประมาณจำกัด - โพสต์ทูเดย์

jengkolpasar.blogspot.com

การรุกตลาดเมียนมาด้วยงบประมาณจำกัด

โดย กริช อึ๊งวิฑูรสถิตย์

วันนี้ผมขออนุญาตหยุดเรื่องนิคมอุตสาหกรรมอีกสักครั้งนะครับ เพราะมีคำถามเข้ามา ซึ่งผมคิดว่าเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้ประกอบการ SME ไทยในการที่จะรุกเข้าไปสู่ตลาดเมียนมา

คำถามดังกล่าวมาจากผู้ประกอบการเล็กๆ ที่มีทุนทรัพย์ไม่มาก ขออนุญาตไม่เอ่ยชื่อบริษัทนะครับ เราต้องให้เกียรติกันครับ

วันนี้เขาเล็ก แต่สักวันเขาอาจจะเติบโตและยิ่งใหญ่ในอนาคตก็เป็นไปได้ครับ ทุกอย่างไม่แน่นอน ขอให้มีความกล้าที่จะสู้

ผมเชื่อว่าต้องมีสักวันที่จะประสบผลสำเร็จแน่นอนครับ

คำถามที่ถามมาว่า “พี่กริชคะแหนูมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตจากมะม่วง อยากรุกตลาดจีนแจะหาคู่ค้าจีนได้อย่างไร? วิธีไหนจะดีที่สุด”

อีกท่านหนึ่งถามมาว่า“ในสถานการณ์ขณะที่มองไม่เห็นทางออกด้านเศรษฐกิจในบ้านเราจะฟื้นตัวอีกเมื่อไหร่

ผมอยากไปบุกตลาดที่ต่างประเทศ โดยเฉพาะที่เมียนมา แต่ค่าใช้จ่ายการบุกตลาดต่างประเทศแพงมาก ผมไม่มีเงินเยอะขนาดนั้น จะไปได้อย่างไรครับ”

ทั้งสองคำถามนี้ผมเห็นว่าน่าจะนำมาตอบในคอลัมน์นี้จะเป็นประโยชน์ แก่ผู้ประกอบการรายใหม่ๆ จึงขออนุญาตนำมาขยายความที่นี่นะครับ

สำหรับคำถามแรก ผมถามไปว่า ได้มีใบอนุญาตผลิตหรือยังเพราะการที่จะผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์การขออนุญาตเงื่อนไขค่อนข้างจะเยอะมาก มีตั้งแต่สุราชุมชน จนถึงสุรากลั่นพิเศษ ดังนั้นต้องระมัดระวังให้ดีๆ อย่าให้มีการดำเนินการผิด

แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ “ตลาด” เพราะเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์นั้น ตลาดแม้จะดูว่าใหญ่มาก การที่จะเข้าสู่ตลาดนั้นยากแสนยาก ที่ประเทศเมียนมาปัจจุบันนี้ยังไม่อนุญาตให้นำเข้าได้แต่ก็เริ่มที่จะเปิดให้เข้าไปลงทุนสร้างโรงงานได้แต่ก็ไม่ได้ขอใบอนุญาตได้ง่ายๆเช่นกัน

ดังนั้นยักษ์ใหญ่ด้านเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บ้านเรา บางรายก็ใช้วิธีเข้าร่วมทุนกับผู้ประกอบการเมียนมาที่เขามีใบอนุญาตแล้ว ในขณะที่ผู้ประกอบการญี่ปุ่นที่เข้าไปร่วมทุนและเปิดดำเนินการไปบางส่วนแล้ว ก็มีปัญหาเข้ามารุมเร้าอยู่เรื่องนี้คงมิบังอาจนำมาเล่าในคอลัมน์นี้ได้ครับ ต้องคุยหลังไมค์

ส่วนตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศจีน ก็เป็นตลาดที่ใหญ่มาก เพียงแต่การที่ผู้ผลิตไทยจะคิดเข้าไปขอส่วนแบ่งการตลาดนั้น ก็ไม่ได้ง่ายเช่นกัน

เราควรต้องเข้าใจวัฒนธรรมการดื่มของชาวจีนนะครับ

ผมเองก็ไม่ดื่มเหล้า จึงไม่ค่อยเข้าใจพฤติกรรมของนักดื่มลึกซึ้งพอ รู้เพียงแต่ว่าเครื่องดื่มดังกล่าว ต้องมีดีกรีที่สูงมากๆ และความหอมอันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละตัว ก็จะแตกต่างกันออกไป ตลาดที่ทำกันแต่ละภาคหรือแต่ละมณฑลก็แตกต่างกันไปอีก

ดังนั้นหากเราจะคิดบุกตลาดนี้ อย่างแรกคือเข้าไปสำรวจตลาดก่อน แลัวจึงดูคู่แข่งในตลาด หาคู่ค้าที่จะมาเป็นตัวแทนทีหลัง โดยสามารถเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่กวางเจา ที่เขาจะมีจัดทุกปี เป็นงานที่ใหญ่มาก ลองไปหาคู่ค้าดูก็ได้นะครับ

แต่อีกอย่างที่ขาดไม่ได้คือสายป่านต้องยาวด้วยนะครับ หากมีไม่กี่สิบล้านบาท บอกเลยว่าอย่าเสียเวลาเลยครับ เพราะตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของจีนนั้น ไม่หมูนะครับ

ส่วนคำถามที่สอง ที่คุณพิเชษฐ์ถามมานั้น การที่คุณจะไปบุกตลาดเมียนมาในยุคนี้ ในทัศนคติของผมจะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่ายกว่าตลาดในประเทศอื่นๆนะครับ

เหตุผลคือปัจจุบันนี้นับตั้งแต่ประเทศเมียนมาได้เข้าสู่การรวมตัวของ AEC แล้ว การกีดกันทางการค้าด้วยกำแพงภาษี ก็ไม่สามารถทำได้ง่ายๆแล้ว

เพราะมีข้อตกลงเรื่องเขตการค้าในภูมิภาคอาเซียนที่เขาเองก็ไม่สามารถที่จะจัดเก็บภาษีในอัตราที่เขาพอใจอยากจะเก็บเท่าไหร่ก็ได้

สินค้าทุกชนิด ต้องเก็บตาม Tariff rate ที่ได้ตกลงกันใว้ ถ้าหากเราต้องการจะลดค้าภาษีบ้าง ก็ขอใบสำแดง From D เราก็จะสามารถลดภาษีไปได้ถึง 50% แล้ว

แต่เชื่อได้เลยว่ารัฐบาลทุกๆประเทศเขาสามารถใช้กำแพงที่ไม่ใช่ภาษี (Non Tariff barrier) มาเป็นเครื่องมือในการปกป้องผู้ประกอบการที่ลงทุนผลิตสินค้าในประเทศเขาเอง

เครื่องมือที่นิยมใช้กัน ก็มีหลากหลายอย่าง เช่น มาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม การขอจดทะเบียนอาหารและยา (อ.ย.) เป็นต้น เพราะหากเขาปล่อยให้สินค้าเข้าสู่ประเทศเขาง่ายๆ โดยไม่มีการควบคุม เขาก็จะขาดดุลการค้าป่นปี้หมด

ดังนั้นจะไปโทษเขาไม่ได้หรอกครับ คุณพิเชษฐที่บอกว่าค่าใช้จ่ายสูงมาก ไม่มีกำลังพอที่จะไปทำการตลาดในนั้น ผมเสนอให้คุณลองไปร่วมฟังสัมมนา เรื่อง “ทิศทางและแนวโน้มตลาดเมียนมา....จากเหตุการณ์ COVID19” ที่ทางสภาธุรกิจไทย-เมียนมาได้ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์จัดขึ้น ในวันที่ 27 สิงหาคมนี้ เวลา 13:00น. ณ.ห้อง มโนปกรณ์นิติธาดา ชั้น 12 กระทรวงพาณิชย์

ซึ่งเราได้เตรียมวิทยากรที่มีประสบการณ์ทำการตลาดในประเทศเมียนมา มาเล่าถึงวิธีการต่างๆให้ฟัง งานนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ฟรีตลอดงานครับ เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการรุกตลาดเมียนมา

ถ้าสนใจเข้าร่วมสัมมนา จะต้องรีบสมัครเข้ามาตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปนะครับ ที่นั่งมีจำนวนจำกัดจริงๆ ท่านสมัครมาได้ที่สภาธุรกิจไทย-เมียนมา คุณนก พัชรินทร์ 02-3451151 คุณมิ้น สิริกานต์ 02-3451131

ท่านจะได้รับคำตอบที่ถูกต้องที่สุดครับ

แชร์ข่าวนี้

Share on Google+

Let's block ads! (Why?)


August 15, 2020 at 09:03AM
https://ift.tt/327WLgf

การรุกตลาดเมียนมาด้วยงบประมาณจำกัด - โพสต์ทูเดย์
https://ift.tt/3azMLPC
Home To Blog

No comments:

Post a Comment