ย่างเข้าเดือนสิงหาคม 2563 ได้เวลา round up ดาต้าเบสตลาดที่อยู่อาศัยต่างจังหวัดกันอีกสักรอบ
“ประชาชาติธุรกิจ” เรียบเรียงจากข้อมูลล่าสุดของ REIC-ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เกี่ยวกับค่าเฉลี่ยที่อยู่อาศัยเปิดใหม่รายครึ่งปี (6 เดือน) ในพื้นที่ 20 จังหวัด ในช่วง 5 ปี (2558-2562) รวมทั้งประเมินแนวโน้มปี 2563 พบประเด็นน่าสนใจ ดังนี้
EEC ฝากความหวังรัฐบูมลงทุน
เริ่มที่ “ชลบุรี” ตลาดอันดับ 2 รองจาก กทม.-ปริมณฑล เฉลี่ย 5 ปีเปิดใหม่ทุกครึ่งปี 7,833 หน่วย โดยปี 2561 ครึ่งปีแรกเปิดใหม่ 9,850 หน่วย ขานรับกระแสอีอีซีที่เริ่มเป็นรูปร่างจนถึงขั้นออก พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ครึ่งปีหลังเจอพิษข่าวมาตรการ LTV-loan to value สกัดนักเก็งกำไรของแบงก์ชาติ เปิดใหม่เหลือ 4,186 หน่วย
ปี 2562 ครึ่งปีแรกเปิดใหม่พุ่ง 10,702 หน่วย จากการอั้นลงทุนช่วงก่อนหน้า ครึ่งปีหลังเปิดใหม่ 6,593 หน่วย ปี 2563 เจอโควิดซ้ำเติม ประเมินเปิดใหม่ครึ่งปีแรก 3,651 หน่วย ครึ่งปีหลัง 3,038 หน่วย
“ระยอง” เฉลี่ยเปิดใหม่ที่ 2,776 หน่วย ปี 2561 เปิดใหม่ 2,416 หน่วย ครึ่งปีหลัง 902 หน่วย, ปี 2562 ครึ่งปีแรกเปิดใหม่เด้งมาที่ 2,985 หน่วย ครึ่งปีหลังทะยานไปที่ 4,779 หน่วย
ปี 2563 โควิดกระทบโรงงานทั้งชะลอการผลิตและปิดตัว กำลังซื้อหด ครึ่งปีแรกคาดเปิดตัวใหม่ 1,145 หน่วย ส่วนครึ่งปีหลังอาจเปิด 1,955 หน่วย
“ฉะเชิงเทรา” อีอีซีเปิดหน้าดินให้กับพื้นที่ เฉลี่ย 5 ปีเปิดใหม่ 870 หน่วย ปี 2561 ครึ่งปีแรกเปิด 954 หน่วย ครึ่งปีหลัง 420 หน่วย, ปี 2562 ครึ่งปีแรกเปิดใหม่ 840 หน่วย ครึ่งปีหลังเพิ่มเป็น 1,265 หน่วย หน่วยเหลือขายยังรักษาค่าเฉลี่ย 5,508 หน่วยตลอด คาดยังไม่มีปัญหาโอเวอร์ซัพพลาย
ปี 2563 ครึ่งปีแรกคาดเปิดใหม่เหลือ 295 หน่วย ครึ่งปีหลัง 546 หน่วย
ภูเก็ต-เชียงใหม่ ซม เศรษฐกิจตกต่ำ
“ภูเก็ต” เปิดใหม่เฉลี่ย 2,397 หน่วย ครึ่งปีแรก 2561 เปิด 4,080 หน่วย ครึ่งปีหลังแม้เริ่มมีข่าวจะบังคับใช้ LTV แต่หน่วยเปิดใหม่อยู่ที่ 3,805 หน่วย ลดจากค่าเฉลี่ยเล็กน้อย
หนังคนละม้วนจาก LTV ปี 2562 ครึ่งปีแรกเปิดใหม่ 542 หน่วย บวกกับนักท่องเที่ยวจีนหายหลังเหตุเรือล่ม ปลายปี 2561 ส่วนครึ่งปีหลังเปิดใหม่ 1,162 หน่วย, ปี 2563 รับผลกระทบโควิด ครึ่งปีแรกคาดเปิด 1,485 หน่วย ครึ่งปีหลัง 1,219 หน่วย
“เชียงใหม่” ค่าเฉลี่ย 1,778 หน่วย ปี 2561 เปิดใหม่ 1,544 หน่วย ครึ่งปีหลังเพิ่มเป็น 2,749 หน่วย หลังคนจีน แห่ช็อปบ้านหลังที่สอง, ปี 2562 รับศึกสองด้านจาก LTV+ฝุ่นควัน ครึ่งปีแรก เปิดใหม่ 1,266 หน่วย ครึ่งปีหลังเพิ่มเล็กน้อยที่ 1,554 หน่วย
ปี 2563 โควิดเป็นปัจจัยซ้ำเติม ครึ่งปีแรกประเมินเปิดใหม่แค่ 512 หน่วย ครึ่งปีหลังอยู่ที่ 1,224 หน่วย
เชียงราย-พิษณุโลก ไร้ตัวช่วย
“เชียงราย” ค่าเฉลี่ย 358 หน่วย ครึ่งปีแรกเปิดใหม่ 78 หน่วย ครึ่งปีหลัง 42 หน่วย, ปี 2562 ตลาดยังหวั่น ๆ ครึ่งปีแรกเปิดใหม่ 72 หน่วย ครึ่งปีหลัง ติดสปริงเปิด 1,239 หน่วย, ปี 2563 ครึ่งปีแรกเปิด 111 หน่วย ครึ่งปีหลังมีโอกาสเพิ่มเป็น 306 หน่วยจากการอั้นซัพพลายใหม่ตั้งแต่ต้นปี
“พิษณุโลก” เฉลี่ย 5 ปีเปิดใหม่ 192 หน่วย ปี 2561 ครึ่งปีแรกเปิดใหม่ 62 หน่วย ครึ่งปีหลัง 134 หน่วย ปี 2562 บิ๊กแบรนด์เมืองกรุงเริ่มออกนอกถิ่นทำให้ครึ่งปีแรกเปิด 545 หน่วย ครึ่งปีหลังจะเหลือ 26 หน่วย, ปี 2563 ครึ่งปีแรกคาดเปิดใหม่ 144 หน่วย ครึ่งปีหลัง 123 หน่วย
“ตาก” เจอภาพลวงตาจากนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน อ.แม่สอด เฉลี่ยเปิดใหม่ 68 หน่วย ปี 2561 เปิด 6 หน่วย และไม่มีเปิดในครึ่งปีหลังถึงครึ่งปีแรก 2562 แต่ครึ่งปีหลังกลับมาเปิด 264 หน่วย, ปี 2563 ครึ่งปีแรกคาดเปิดใหม่ 10 หน่วย ครึ่งปีหลัง 53 หน่วย
5 เมืองอีสานตลาดเปราะบาง
“นครราชสีมา” เฉลี่ย 5 ปีเปิดใหม่ 1,256 หน่วย ปี 2561 ครึ่งปีแรกเปิดใหม่ 1,667 หน่วย ครึ่งปีหลังเจอกระแส LTV เหลือ 1,156 หน่วย, ปี 2562 ครึ่งปีแรกเหลือ 911 หน่วย ครึ่งปีหลังกลับมาแตะเส้นค่าเฉลี่ย 1,291 หน่วย, ปี 2563 เหตุกราดยิง+โควิดกระทบยอดเปิดใหม่ มองครึ่งปีแรก 459 หน่วย ครึ่งปีหลัง 690 หน่วย ซึ่งยังเป็นกราฟขาลง
“ขอนแก่น” ค่าเฉลี่ย 640 หน่วยครึ่งปีแรก 2561 เปิดใหม่ 619 หน่วย น่าจับตาครึ่งปีหลังลดฮวบ 191 หน่วยจากกระแส LTV และมีการเลื่อนแผนลงทุนไปปี 2562 ครึ่งปีแรกเปิดใหม่ทะยาน 1,062 หน่วย ครึ่งปีหลังเพลย์เซฟเปิดใหม่ใกล้ค่าเฉลี่ย 687 หน่วยเพราะห่วงโอเวอร์ซัพพลาย, ปี 2563 หน่วยเปิดใหม่ครึ่งปีแรก 379 หน่วย และน่าจะลดเหลือ 240 หน่วยในครึ่งปีหลัง
“อุดรธานี” เฉลี่ย 5 ปี 144 หน่วย ปี 2561 ครึ่งปีแรกเปิด 263 หน่วย ครึ่งปีหลังตลาดเกือบวาย 25 หน่วย คาดกังวลโอเวอร์ซัพพลายจากหน่วยเหลือขาย 1,639 หน่วย สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ 1,583 หน่วย
ปี 2562 ครึ่งปีแรกเปิดใหม่ 214 หน่วย ครึ่งปีหลัง 74 หน่วย ขณะที่ปี 2563 ประเมินครึ่งปีแรกเปิดใหม่ 79 หน่วย และครึ่งปีหลัง 103 หน่วย
“อุบลราชธานี” เฉลี่ยเปิดใหม่ 115 หน่วย ปี 2561 ครึ่งปีแรก 52 หน่วย ครึ่งปีหลัง 238 หน่วย คาดรับข่าวดีจัดตั้งนิคม 2.3 พันไร่ ก่อนจะดรอปในปี 2562 ครึ่งปีแรกมี 123 หน่วย ครึ่งปีหลัง 46 หน่วย, ปี 2563 ประเมินครึ่งปีแรก 74 หน่วย ครึ่งปีหลังอั้นการลงทุนเพิ่มเป็น 170 หน่วย
“มหาสารคาม” เฉลี่ย 114 หน่วย ปี 2561 ครึ่งปีแรกเปิด 310 หน่วย ครึ่งปีหลัง 58 หน่วย, ปี 2562 ทั้งปี เปิดเพียง 89 หน่วย, ปี 2563 ครึ่งปีแรกน่าจะเปิดใหม่ 48 หน่วย ครึ่งปีหลัง 32 หน่วย โดยสรุปตลาดภาคอีสานยังห่างไกลคำว่าฟื้นตัว
หัวหิน-ชะอำ จีนหาย ตลาดซึม
ภาคตะวันตกในนิยามของ REIC คือหัวหิน-ชะอำ เริ่มจาก “ประจวบคีรีขันธ์” เฉลี่ย 5 ปีเปิดใหม่ 1,205 หน่วย ครึ่งปีแรก 2561 เปิด 1,409 หน่วย ครึ่งปีหลัง 536 หน่วย ปี 2562 คาดว่าอั้นการลงทุนทำให้ครึ่งปีแรกเปิดใหม่ 1,807 หน่วย ครึ่งปีหลัง 1,069 หน่วย, ปี 2563 โควิดทำครึ่งปีแรกเปิดใหม่ 577 หน่วย ครึ่งปีหลัง 404 หน่วย
“เพชรบุรี” เฉลี่ยเปิดใหม่ 394 หน่วย ครึ่งปีแรก 2561 เปิดใหม่ 597 หน่วย ครึ่งปีหลัง 333 หน่วย, ปี 2562 ครึ่งปีแรกเปิดใหม่หดเหลือ 146 หน่วย ครึ่งปีหลังฟื้นกลับมาที่ 499 หน่วย, ปี 2563 คาดครึ่งปีแรกเปิด 179 หน่วย ครึ่งปีหลัง 185 หน่วย
ภาคใต้เปิดใหม่แบบประคองตัว
“สงขลา” เฉลี่ย 5 ปี 623 หน่วย ครึ่งปีแรก 2561 เปิด 825 หน่วย ครึ่งปีหลัง 488 หน่วย, ปี 2562 ครึ่งปีแรก 338 หน่วย ครึ่งปีหลังฟื้นเป็น 842 หน่วย อาจเพราะซัพพลายเหลือขายยังรักษาค่าเฉลี่ยที่ 3,296 หน่วย, ปี 2563 ครึ่งปีแรกเปิดใหม่ 341 หน่วย ครึ่งปีหลัง 515 หน่วย
“สุราษฎร์ธานี” เฉลี่ยเปิดใหม่ 440 หน่วย ครึ่งปีแรก 2561 มี 663 หน่วย ครึ่งปีหลัง 466 หน่วย, ปี 2562 ครึ่งปีแรก 228 หน่วย ครึ่งปีหลัง 402 หน่วย, ปี 2563 ประเมินครึ่งปีแรก 303 หน่วย ครึ่งปีหลัง 315 หน่วย ต้องจับตาหน่วยเหลือขายยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยเป็น 3,421 หน่วยภายในสิ้นปีนี้
“นครศรีธรรมราช” เปิดใหม่เฉลี่ย 127 หน่วย ครึ่งปีแรก 2561 ตลาดโบ๋ ครึ่งปีหลังเปิด 241 หน่วย, ปี 2562 ครึ่งปีแรก 268 หน่วย ครึ่งปีหลังหยุดลงทุนอีกครั้ง หน่วยเหลือขายใกล้ค่าเฉลี่ย 1,501 หน่วย, ครึ่งปีแรกปี 2563 เปิดใหม่ 134 หน่วย ครึ่งปีหลังอาจเหลือ 95 หน่วย
August 15, 2020 at 08:30AM
https://ift.tt/2PUjbM6
ย้อนหลังเฉลี่ยเปิดตัวใหม่ 5 ปี ส่องเทรนด์ตลาดจัดสรร 20 จังหวัด - ประชาชาติธุรกิจ
https://ift.tt/3azMLPC
Home To Blog
No comments:
Post a Comment