Pages

Thursday, July 23, 2020

เรียนรู้การปรับตัวของตลาดผู้บริโภคจีน หลังโควิด-19 - efinanceThai

jengkolpasar.blogspot.com
เรียนรู้การปรับตัวของตลาดผู้บริโภคจีน หลังโควิด-19

กุนซือโลกการเงิน


กุนซือโลกการเงิน เรียนรู้การปรับตัวของตลาดผู้บริโภคจีน หลังโควิด-19 โดย PWC .

โดย
PWC .

:PWC
.

โดย นิพันธ์ ศรีสุขุมบวรชัย

หัวหน้าสายงาน Clients and Markets 
และหุ้นส่วนสายงานภาษีและกฎหมาย
บริษัท PwC ประเทศไทย

    

สาธารณรัฐประชาชนจีน ถือเป็นประเทศแรก ๆ ที่ต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) โดยในเดือนมกราคมที่ผ่านมา รัฐบาลจีนได้ใช้มาตรการปิดเมือง (ล็อกดาวน์) เมืองอู่ฮั่นของมณฑลหูเป่ย์และเมืองใหญ่อื่น ๆ ภายในประเทศ เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส 

โดยระบบขนส่งทั้งทางรถโดยสาร เครื่องบิน รวมถึงซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้า ร้านอาหาร โรงหนัง และภาคการผลิตต้องถูกปิด หรือโดนสั่งห้ามการทำกิจกรรมทั้งหมด ซึ่งได้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของจีน 

รายงาน Back to Business: An update on how China’s consumer market is recovering from COVID-191 ของ PwC ประเทศจีน ที่ผ่านมา ระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในไตรมาสแรกของจีนปีนี้ ติดลบอยู่ที่ 6.8% เมื่อเทียบกับการเติบโตที่ 6.4% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคก็ติดลบถึง 19% เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม จีนถือเป็นประเทศที่กลับมาฟื้นตัวได้ค่อนข้างเร็ว เพราะมีการบังคับใช้มาตรการรับมือกับโควิด-19 อย่างเข้มงวด ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้สถานการณ์ภายในประเทศและภาพรวมทางเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยจีดีพีในไตรมาส 2 ฟื้นตัวกลับมาอยู่ที่ 3.2%2 เช่นเดียวกับตลาดหุ้นจีนที่เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ เห็นได้จากดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตและดัชนีฮั่งเส็งที่เริ่มมีเสถียรภาพ 

นอกจากนี้ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของจีนเองก็ส่งสัญญาณฟื้นตัว สะท้อนได้จากตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมการผลิต (PMI) 3 ในเดือนมีนาคม ที่ปรับตัวขึ้นอยู่ที่ 54.1 เมื่อเทียบกับ 27.8 ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งหมายความว่า อุปสงค์ภายในประเทศและการส่งออก เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยเริ่มมีออเดอร์ใหม่เข้ามาอีกครั้งในเดือนมีนาคม เห็นได้จากดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ (New Orders Index) 4 ในเดือนดังกล่าว อยู่ที่ 46.4 สูงกว่าเดือนกุมภาพันธ์ที่ 28.7 นี่เป็นสัญญาณว่า ตลาดผู้บริโภคกำลังเข้าสู่กระบวนการฟื้นตัว

ผมมองว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้จีนพลิกฟื้นกลับมา คือ การบังคับใช้มาตรการรับมือกับโควิด-19 อย่างเคร่งครัด การแจกจ่ายคูปองดิจิทัลผ่านอาลีเพย์ เพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยและสร้างรายได้ให้กับธุรกิจค้าปลีกในช่วงเวลาคับขัน และการผลักดันให้ภาคเอกชน โรงงานผู้ผลิต ธุรกิจเอสเอ็มอี และภาคบริการ สามารถกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้เกือบ 100%  ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมพลิกกลับมาเติบโตได้อีกครั้ง ถึงแม้จะไม่เติบโตเท่ากับช่วงก่อนหน้าสถานการณ์โควิด-19 ก็ตาม


อย่างไรก็ดี แม้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะกลับมาเปิดดำเนินการได้ แต่เราจะเห็นว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคนั้นไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะการกักตัวอยู่บ้าน และการทำงานที่บ้าน ส่งผลให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่หันมาซื้อสินค้าและใช้บริการต่าง ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์กันแทบทั้งสิ้น 

ด้วยพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนี่เอง ทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจ ซึ่งจากรายงานฉบับนี้พบว่า มีธุรกิจ 4 ประเภทที่มีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้นในจีนและน่าจะทั่วโลกด้วย เพราะสามารถตอบสนองความต้องการและช่วยแก้ปัญหารูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนจากนี้ไปได้เป็นอย่างดี แม้ว่าจะผ่านช่วงล็อกดาวน์ไปแล้ว ดังนี้

1. การเรียนออนไลน์ (Online education) ในช่วงวิกฤตโควิด-19 จำนวนผู้ใช้แอปพลิเคชันห้องเรียนออนไลน์ในจีนเติบโตถึง 46% มาที่ 127 ล้านราย จากเดิม 87 ล้านราย โดย รายงานยังระบุด้วยว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะยังคงใช้บริการห้องเรียนออนไลน์ต่อไปแม้สถานการณ์โควิด-19 จะได้คลี่คลายไปแล้ว เพราะประหยัดเวลา และนักเรียนสามารถเลือกช่วงเวลาที่เข้าเรียนได้ 

2. สื่อบันเทิงและวิดีโอเกม (Entertainment and video game) สื่อบันเทิงและวิดีโอเกมเป็นกิจกรรมอันดับต้น ๆ ที่ผู้คนเลือกใช้ในช่วงเวลาอยู่บ้านและกักตัว เพื่อการพักผ่อน ส่งผลให้ธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้เติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยบริษัทเทนเซนต์ ยักษ์ใหญ่ด้านไอทีของจีน เปิดเผยว่า ยอดดาวน์โหลดเกมของบริษัทเติบโตสูงถึง 39% ภายในเดือนกุมภาพันธ์เพียงเดือนเดียว

3. บริการไร้สัมผัส (Contactless service) ผู้ประกอบการธุรกิจขนส่ง ได้คิดค้นและพัฒนาระบบขนส่งแบบไร้สัมผัส เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โดยบริษัทอย่าง เจดีดอทคอม ได้นำเทคโนโลยีโดรนและหุ่นยนต์มาใช้ในการขนส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่นเดียวกับบริษัท ไป่ตู้ ที่ใช้รถยนต์ไร้คนขับ เพื่อป้องกันการสัมผัสระหว่างมนุษย์ นี่จึงเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ธุรกิจที่น่าจับตามองหลังยุคโควิด-19

4. การทำงานและประชุมทางไกล (Remote office and video-conferencing) เป็นที่แน่นอนว่า ธุรกิจซอฟต์แวร์และบริการที่อำนวยความสะดวกในการทำงานที่บ้าน และบริการประชุมออนไลน์ได้เห็นการเติบโตอย่างมากในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 และคาดว่า จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2563 จะเติบโตถึง 3.68 หมื่นล้านหยวน หรือราว 1.66 แสนล้านบาท และเพิ่มเป็น 6 หมื่นล้านหยวน หรือประมาณ 2.7 แสนล้านบาทในปี 2567 ซึ่งนับว่าเป็นธุรกิจที่น่าสนใจในตลาดเอเชียเวลานี้ 

จากข้อมูลที่ผมได้นำมาแบ่งปันให้ทุกท่านทราบ น่าจะทำให้เราเห็นว่า จีนมีมาตรการรับมือกับโควิด-19 อย่างไร ปัจจัยอะไรทำให้ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการฟื้นตัว และแนวโน้มธุรกิจที่กำลังมาแรงและเติบโต ในห้วงเวลาที่พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง ผมหวังว่า ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์กับธุรกิจ ช่วยให้เห็นถึงทิศทางของตลาด รวมไปถึงเทรนด์ธุรกิจใหม่ ๆ ที่สามารถเอาไปต่อยอดสร้างโอกาสทางการตลาดใหม่ เพราะบางธุรกิจก็ที่ยังมีพอมีช่องว่างในตลาดบ้านเราอยู่นะครับ 

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

RECOMMENDED NEWS

ข่าวหุ้นยอดนิยม


Let's block ads! (Why?)


July 23, 2020 at 02:59PM
https://ift.tt/30F9GoR

เรียนรู้การปรับตัวของตลาดผู้บริโภคจีน หลังโควิด-19 - efinanceThai
https://ift.tt/3azMLPC
Home To Blog

No comments:

Post a Comment