1 กรกฎาคม 2563 | โดย ธนิต โสรัตน์ | คอลัมน์ Smart EEC
201
การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ตลาดแรงงานหลังวิกฤติโควิด-19 จะทำให้เกิดการลดขนาดองค์กรให้เล็กลง โดยใช้เทคโนโลยีมากขึ้น และลดจํานวนแรงงานจนเกิดแนวทางเดินของธุรกิจที่เป็น “New Normal”
ขณะที่ภัยคุกคามการจ้างงานจากการเร่งตัวของเทคโนโลยีก้าวหน้าในรูปแบบต่างๆ จะมาแทนที่การใช้แรงงานมนุษย์ เช่น AI, Robots, Smartphone, Internet of things, Automation และภูมิทัศน์ตลาดแรงงานจะเปลี่ยนไป นายจ้างจะคัดกรองคนที่กลับเข้าทํางาน แม้แต่คนที่ทํางานอยู่แล้วอาจถูกลดขนาดภายใต้โครงการสมัครใจลาออก โดยแรงงานสูงวัยจะเป็นกลุ่มที่เสี่ยงสูง และการพัฒนาทักษะไปจนถึงการเปลี่ยนทักษะจะเป็นหัวใจของการรักษาตําแหน่งงาน
สภาวะแวดล้อมธุรกิจและฐานวิถีชีวิตที่ไม่เหมือนเดิม โดยหลายธุรกิจอาจล้มหายตายจาก ส่วนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะค่อยเป็นค่อยไป ดีมานด์ของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศจะหดตัว การแข่งขันจะรุนแรง การใส่ใจต่อสุขภาพจะมากขึ้น ส่งผลต่อมาตรฐานของสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ ปัจจัยดังกล่าวจะทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้
Neo-Economy เศรษฐกิจใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่ทำให้ธุรกรรมอยู่บนแพลตฟอร์มดิจิทัล
New Life style ผู้คนส่วนใหญ่จะใช้ชีวิตไม่เหมือนเดิม รูปแบบการจับจ่ายใช้สอยอยู่บนออนไลน์ การเดินทางระหว่างประเทศยุ่งยากขึ้น
Officeless Workers เป็นรูปแบบหนึ่งของการทํางานแบบไร้สํานักงาน รูปแบบการจ้างงานเปลี่ยนไปสู่ฟรีแลนซ์และเอาท์ซอร์ส ซึ่งทํางานที่บ้านหรือที่ไหนก็ได้
Supply Chain Worst Case Risk Management การทําธุรกิจจะต้องมีการทําแผนบริหารความเสี่ยง โดยเฉพาะการเชื่อมโยงกับโซ่อุปทานทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ โดยกระจายฐานการผลิตขึ้น ธุรกิจที่อยู่ในโซ่อุปทานจะต้องมีการทําแผนบริหารความเสี่ยงและความต่อเนื่องของธุรกิจที่จะต้องนําประเด็นสุขอนามัยและโรคระบาดและภัยที่คาดไม่ถึง
หากพิจารณาตลาดแรงงานบนบริบทของ “New Normal” จะพบการเปลี่ยนแปลงดังนี้
New Normal Dynamic เป็นโอกาสของแรงงานวัยตอนต้นเพราะพลวัตรตลาดแรงงาน เปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง แรงงานใหม่ต้องสามารถตอบโจทย์สภาวะแวดล้อมธุรกิจการดําเนินชีวิตที่ไม่เหมือนเดิม
First Labour Aged Demand วัยแรงงานตอนต้นยังมีความต้องการสูง ที่ผ่านมาแรงงาน อายุ 18-29 ปี ความต้องการจ้างงานติดลบ 14.6%
Digital Platform Direction จะเป็นทิศทางของธุรกิจทั้งภาคผลิต ภาคบริการค้าส่งค้าปลีก เป็นจุดแข็งของแรงงานตอนต้นที่มาจาก Gen Z ที่คุ้นเคยกับเทคโนโลยี ทําให้ปรับตัวได้เร็วกว่ากลุ่มวัยอื่น
Skill Change การเปลี่ยนแปลงของทักษะใหม่ ซึ่งตรงความต้องการตลาดแรงงานที่ไม่เหมือนเดิม แม้แต่แรงงานวัยตอนต้นมีความเสี่ยง สะท้อนจากแรงงานใหม่จบระดับอุดมศึกษาว่างงานถึง 29.5% ของผู้ว่างงานทั้งหมด ขณะเดียวกันแรงงานใหม่ที่เข้าตลาดแรงงานส่วนใหญ่ 63.2% จบปริญญาตรีสาขาที่ไม่ตรงความต้องการตลาด โดยเฉพาะการด้อยคุณภาพของแรงงานใหม่
New Job Challenge ตลาดแรงงานใหม่ภายใต้แพลตฟอร์มดิจิทัล ทําให้มีอาชีพใหม่ที่ธุรกิจต่างๆ จะเริ่มลดขนาดองค์กรด้วยการกระจายตําแหน่งงานไปให้ฟรีแลนซ์และเอาท์ซอร์สเอาท์ซอร์ส ซึ่งไม่ต้องมีสํานักงานในลักษณะทำงานที่บ้าน เช่น งานการตลาด, งาน บัญชี, งานบริการลูกค้า, งานปฏิบัติการ, งานที่เกี่ยวกับคลังสินค้าและโลจิสติกส์
Productivity/Income Issue ผลิตภาพแรงงานต่อรายได้จะเป็นประเด็นสําคัญของการประเมินผลงานของแรงงานภายใต้พลวัตรวิถีใหม่
Worth Returned Conceptual แนวคิดความคุ้มค่าและมีค้มค่าต่อองค์กร ผู้ที่จะอยู่ในตําแหน่งงานได้มั่นคงจนเกษียณต้องปรับทัศนคติใหม่ด้วยการทําตัวเองให้มีคุณค่าต่อองค์กร
ในอนาคตขนาดขององค์กรจะเล็กลง หลายตําแหน่งงานจะหายไป จึงจะทําอย่างไรไม่ให้กลายเป็นกลุ่มเสี่ยงอยู่ใน “New Normal Early Retire”
July 01, 2020 at 04:20AM
https://ift.tt/3geIeVa
'ตลาดแรงงาน' บนบริบท 'New Normal' - กรุงเทพธุรกิจ
https://ift.tt/3azMLPC
Home To Blog
No comments:
Post a Comment