"ไอพีโอ"คึกคัก เดินหน้าระดมทุนตามแผน หลังหุ้นไทยฟื้น พบ 12 บริษัท ก.ล.ต.อนุมัติไฟลิ่งแล้ว จากทั้งหมด 25 บริษัท คาดทยอยเข้าเทรด ก.ค.นี้ เป็นต้นไป พบบจ.แห่ Spin-off เข็นบริษัทลูกเข้าตลาด ด้านที่ปรึกษาฯปรับกลยุทธ์ให้ส่วนลดเพิ่ม จูงใจนักลงทุน แม้อาจได้เงินต่ำเป้า แถมงัด "กรีนชู" พยุงราคา
*** ภาวะตลาดเริ่มฟื้น "ไอพีโอ"คึกคัก
ตั้งแต่ช่วงปลายเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา เริ่มเห็นความเคลื่อนไหวของกลุ่มบริษัทที่เตรียมขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก(IPO)ทั้งการยื่นไฟลิ่งและการประกาศเตรียมความพร้อมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET) และ ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
"แมนพงศ์ เสนาณรงค์" รองผู้จัดการหัวหน้าสายงานผู้ออกหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ประเมินว่า ภาวะตลาดหุ้นไทยปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง หลังการระบาดของโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย และรัฐบาลได้ทยอยคลายมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้บริษัทที่ชะลอแผนการขายหุ้นไอพีโอก่อนหน้านี้กลับมาเดินหน้าเตรียมความพร้อมเข้าระดมทุนตามแผนการที่วางไว้ โดยล่าสุดพบว่าเริ่มมีบริษัทขอเข้าซื้อขายบ้างแล้ว คาดว่าจะเริ่มทยอยเข้าเทรดตั้งแต่ ก.ค.63 เป็นต้นไป
อย่างไรก็ตาม อาจจะมีการปรับรูปแบบพิธีซื้อขายหุ้นในตลาดวันแรก (1st day trading) ผ่านระบบดิจิทัล เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
นอกจากนี้อยู่ระหว่างการพิจาณาผ่อนปรนหลักเกณฑ์เรื่องกำไรของบริษัทที่จะยื่นขายไอพีโอ โดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็กที่จะเข้าจดทะเบียนใน mai จากเดิมกำหนดให้กำไรสุทธิปีล่าสุดก่อนยื่นคำขอต้องไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท แต่เนื่องจากผลกระทบของโควิด-19 อาจจะส่งผลต่อบริษัทที่เตรียมจะยื่นคำขอในปี 64 เพราะใช้กำไรของปี 63 ส่งผลให้อาจจะต่องเลื่อนแผนไปปี 65 และอาจจะกระทบต่อแผนการระดมทุนขยายธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ
*** 12 บจ.ได้รับอนุมัติไฟลิ่งแล้ว
ทั้งนี้ พบว่า ปัจจุบันมีหุ้นไอพีโอที่ได้รับการอนุมัติแบบไฟลิ่งจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รวม 12 บริษัท จากทั้งหมด 25 บริษัท แบ่งเป็น SET จำนวน 8 บริษัท และ mai จำนวน 4 บริษัท ได้แก่
หุ้นไอพีโอที่ได้รับการอนุมัติจาก ก.ล.ต.แล้ว
|
ชื่อบริษัท
|
ขายไอพีโอ (ล.หุ้น)
|
ธุรกิจ
|
ที่ปรึกษาการเงิน
|
จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
|
“ศักดิ์สยามลิสซิ่ง” (SAK)
|
546
|
เงินทุนและหลักทรัพย์
|
บล.ธนชาต
|
“สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์” (SAV)
|
224
|
ขนส่งและโลจิสติกส์
|
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง
|
“เอสซีจี แพคเกจจิ้ง” (SCGP)
|
1,194.80
|
บรรจุภัณฑ์
|
ธ.ไทยพาณิชย์
|
“ซัคเซสมอร์ บีอิ้งค์” (SCM)
|
150
|
พาณิชย์
|
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง
|
“ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง” (SNNP)
|
260
|
อาหารและเครื่องดื่ม
|
ธ.ไทยพาณิชย์
|
“สยามเทคนิคคอนกรีต” (STECH)
|
203.5
|
วัสดุก่อสร้าง
|
เจย์ แคปปิตอล แอดไวเซอรี
|
“ศรีตรังโกลฟส์” (STGT)
|
444.78
|
ของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์
|
บล.ฟินันซ่า
|
“สยามราชธานี” (SO)
|
85
|
บริการเฉพาะกิจ
|
อวานการ์ด แคปปิตอล
|
จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
|
“เคแอนด์เค ซุปเปอร์สโตร์ เซาท์เทิร์น” (KK)
|
79.35
|
บริการ
|
บล.เคทีบี
|
“สบาย เทคโนโลยี” (SABUY)
|
157.02
|
บริการ
|
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง
|
“ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี” (SICT)
|
100
|
เทคโนโลยี
|
ฟินเน็กซ์ แอ๊ดไวเซอรี่
|
“ศิรกร” (SK)
|
115.35
|
อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง
|
แคปปิตอล วัน พาร์ทเนอร์
|
*** “ศรีตรังโกลฟส์” เตรียมประเดิมเทรด ก.ค.นี้
"จริญญา จิโรจน์กุล" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ศรีตรังโกลฟส์ (STGT) ผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายถุงมือยางธรรมชาติและถุงมือยางไนไตรล์ คาดว่า จะสามารถเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้ช่วงต้นเดือน ก.ค.63 โดยกลางเดือน มิ.ย.นี้ จะเริ่มเดินสายให้ข้อมูลแก่นักลงทุน หลังได้รับการอนุมัติไฟลิ่งแล้ว
“จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า นักลงทุนให้ความสนใจกับหุ้นไอพีโอของเรามาก เพราะธุรกิจมีจุดแข็งจากกระแสที่คนหันมาสนใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น จากเดิมบริษัทผลิตถุงมือยางเพื่อจัดจำหน่ายให้กับธุรกิจการแพทย์และอาหารเป็นหลัก แต่ปัจจุบันพบว่ามียอดสั่งซื้อเข้ามาจากทุกอุตสาหกรรม” จริญญา กล่าว
ด้าน "วรชาติ ทวยเจริญ" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟินเน็กซ์ แอ๊ดไวเซอรี่ จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน บมจ.ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี (SICT) คาดว่า จะสามารถเข้าซื้อขายใน mai ได้ภายในไตรมาส 3 นี้
เช่นเดียวกับ "รัฐชัย ธีระธนาวัฒน์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วมสายงานวาณิชธนกิจ-ด้านตลาดทุน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคทีบี (ประเทศไทย) ในฐานะที่ปรึกษาการเงิน บมจ.เคแอนด์เค ซุปเปอร์สโตร์ เซาท์เทิร์น (KK) คาดว่า จะนำหุ้นเข้าซื้อขายใน mai ได้ช่วงปลายไตรมาส 3 นี้
*** อาจเพิ่มส่วนลดราคาไอพีโอ จูงใจนักลงทุน
แหล่งข่าวบริษัทที่ปรึกษาการเงินรายใหญ่ เผยว่า ช่วงที่ตลาดหุ้นไทยยังมีปัจจัยลบคอยกดดัน อาจจะต้องใช้กลยุทธ์การตั้งราคาไอพีโอด้วยการเพิ่มส่วนลดมากกว่าปกติ เพื่อจูงใจนักลงทุน
"ปกติราคาไอพีโอมักจะ Discount กันราว 20-30% แต่ภาวะแบบนี้อาจจะต้อง Discount มากกว่านั้น แม้อาจจะกระทบต่อแผนการระดมเงินทุนของบริษัทไปบ้าง แต่ก็ดีกว่าหุ้นขายไม่หมดหรือนักลงทุนไม่ให้ความสนใจ ซึ่งจะกระทบต่อแผนการขยายธุรกิจมากกว่า" แหล่งข่าวกล่าว
ด้าน "รัฐชัย ธีระธนาวัฒน์" เสริมว่า การประเมินราคาไอพีโอในภาวะปัจจุบัน อาจจะต้องมีส่วนลดเพิ่มขึ้น โดยอาจจะลดจากราคาเหมาะสมที่นักวิเคราะห์ประเมิน 5-10% หรือให้ส่วนลดผ่านการสำรวจความต้องการซื้อหลักทรัพย์ (Book Building) จากนักลงทุน
ขณะเดียวกันยอมรับว่าบริษัทที่ขายหุ้นไอพีโอในภาวะปัจจุบัน อาจจะได้เงินระดมทุนต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่แผนการขยายธุรกิจสำคัญกว่า จึงต้องดำเนินการตามแผน
"ประเสริฐ ตันตยาวิทย์" กรรมการผู้จัดการฝ่ายวาณิชธนกิจ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ระบุว่า การตั้งราคาไอพีโอช่วงนี้ต้องเหมาะสมกับภาวะตลาดฯ มีส่วนลดให้นักลงทุนมีโอกาสทำกำไรได้ กลับกันหากตั้งราคาแพงเกินไปหรือไม่มีส่วนลด อาจจะไม่ได้รับความสนใจจากนักลงทุน ซึ่งปัจจุบันมีตัวเลือกมากขึ้นจากหุ้นในกระดานที่ราคาถูกลงหลังดัชนีปรับตัวลงแรง
*** งัด "กรีนชู" ลดความผันผวนราคา
ขณะเดียวกันเมื่อสำรวจข้อมูลไฟลิ่งของบริษัทที่เตรียมขายหุ้นไอพีโอทั้งหมดพบว่า มี 5 บริษัทที่เตรียมใช้กลยุทธ์ "GREENSHOE OPTION" หรือ จัดสรรหุ้นสามัญส่วนเกิน (Over-Allotment) เพื่อลดความผันผวนของราคาหุ้นในวันแรกของการเข้าซื้อขาย ประกอบด้วย
หุ้นไอพีโอที่ใช้ “กรีนชู”
|
ชื่อบริษัท
|
จำนวนหุ้นส่วนเกิน (ล.หุ้น)
|
ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก (OR)
|
300
|
เอสซีจี แพคเกจจิ้ง (SCGP)
|
179.2
|
ไซมิส แอสเสท (SA)
|
30
|
เคแอนด์เค ซุปเปอร์สโตร์ เซาท์เทิร์น (KK)
|
10.35
|
สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ (SAV)
|
ยังไม่กำหนด
|
*** พบ 6 บจ. Spin-off บ.ย่อยเข้าเทรด
นอกจากนี้พบว่ากลุ่มบริษัทที่เตรียมขายหุ้นไอพีโอ 6 บริษัท เป็นบริษัทย่อยของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ได้แก่
หุ้น Spin-off
|
ชื่อบริษัท
|
ชื่อย่อ บจ.ที่ถือหุ้นใหญ่
|
ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก (OR)
|
PTT
|
เอสซีจี แพคเกจจิ้ง (SCGP)
|
SCC
|
ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) (STGT)
|
STA
|
สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ (SAV)
|
SAMART*
|
เอิร์ธ เท็ค เอนไวรอนเมนท์ (ETC)
|
BWG-AKP
|
เน็คซ์ แคปปิตอล (NCAP)
|
COM7-SYNEX
|
*ผู้ถือหุ้นใหญ่คือ "สามารถ ยู-ทรานส์" ซึ่งเป็น บ.ย่อยที่ SAMART ถือหุ้น 100%
|
No comments:
Post a Comment