Pages

Friday, June 5, 2020

พาณิชย์สั่งลุย 44 โปรเจ็กต์ ชิงธงตลาดจีน - ฐานเศรษฐกิจ

jengkolpasar.blogspot.com

พาณิชย์ลุย 44 โครงการรุกตลาดจีนหลังคลายล็อกดาวน์ ดันตัวเลขบวกต่อเนื่อง สรท.ชี้ส่งออกไทยไปจีนเดือนเม.ย.โต 9% ส่งสัญญาณการค้ากลับมาเป็นปกติได้เร็วกว่าฝั่งยุโรป-อเมริกา เตรียมแผนครึ่งหลังรุกผ่านช่องออนไลน์-ออฟไลน์เต็มพิกัด

หากไม่นับรวมกลุ่มอาเซียน ณ ปัจจุบันจีนถือเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย(สัดส่วนการค้า 16% ที่ไทยค้ากับโลก) โดยช่วง 4 เดือนแรกปี 2563 การค้าไทย-จีนมีมูลค่า 786,231ล้านบาท ลดลง 0.60% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยไทยส่งออก 288,134 ล้านบาท ลดลง 0.10% และนำเข้า 498,098 ล้านบาท ลดลง 0.8% เมื่อเทียบกับช่วงดียวกันของปีก่อน จากปี 2562 ไทยส่งออกไปจีน 902,274 ล้านบาท ลดลง 7.1% เมื่อเทียบกับปี 2561 ล่าสุดสถานการณ์โควิด-19 ในจีนได้คลี่คลายลง แต่ปัจจุบันจีนยังห้ามชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศ แต่อนุญาตให้ธุรกิจร้านอาหาร โรงแรม การท่องเที่ยวกลับมาดำเนินธุรกิจได้แล้ว รวมทั้งอนุญาตในการจัดประชุม นิทรรศการ และงานแสดงสินค้าได้ โดยมีข้อกำหนดและกฎระเบียบในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคอย่างเคร่งครัด ช่วยสร้างบรรยากาศและโอกาสการขยายตัวทางการค้าส่งออกของไทยในจีนมากขึ้น

นายวิทยากร มณีเนตร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า  กรมเตรียมแผนบุกตลาดจีนหลังโควิด-19 คลี่คลาย จำนวน 44 โครงการ ใน 6 กลุ่มแผนงาน/กิจกรรม ประกอบด้วย การส่งเสริมสินค้าไทยผ่าน Modern Trade, ส่งเสริมสินค้าไทยผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ,ส่งเสริมร้านอาหารไทยด้วย Thai Select,การจัดกิจกรรม Thai Fruit Golden Month, นำทัพเอกชนบุกตลาดผ่านงานแสดงสินค้า(หากทางการจีนอนุญาตให้ต่างชาติเดินทางเข้าประเทศได้แล้ว) และอื่น ๆ (กราฟิกประกอบ) ล่าสุดได้ดำเนินการแล้วเสร็จไปแล้ว 4 โครงการ  เช่น งาน Thai Fruit Golden Month ที่ชิงต่าวและหนานหนิง คาดมี   คำสั่งซื้อภายใน 1 ปี มูลค่า 100 ล้านบาท เป็นต้น ส่วนที่อยู่ระหว่างการดำเนินการมี 5 โครงการ และรอดำเนินการตามแผนงานอีก 35 โครงการ

“แผนงานต่าง ๆ สามารถทำได้ตามปกติแล้ว จากจีนได้   ผ่อนปรนมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ยังคงเข้มงวดในการควบคุมป้องกันเชื้อโรคจากต่างประเทศ ทั้งนี้อุปสรรคที่ยังมีต่อการส่งออกของไทย เช่น ผลกระทบจากความตกลงทางการค้าสหรัฐฯ-จีนในเฟส 1 ที่จีนจะนำเข้าสินค้าประเภทเนื้อสัตว์จากสหรัฐฯมากขึ้น หรือการขนส่งสินค้าทางอากาศมีข้อจำกัดจากการหยุดให้บริการของสายการบินระหว่างประเทศ  การจำกัดการเดินทางของผู้โดยสารระหว่างประเทศ ส่งผลให้ผู้ประกอบยังไม่สามารถดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจได้”

สำหรับสินค้าไทยที่ยังมีโอกาสในตลาดจีนเช่น กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน โดยเน้นสินค้าเพื่อสุขภาพและมีความปลอดภัย (Food Safety) มากขึ้น กลุ่มสินค้าเพื่อสุขอนามัยและสุขภาพ เช่น ถุงมือยาง  กลุ่มสินค้าเพื่อความบันเทิง เช่น ละครภาพยนตร์ออนไลน์ เกมออนไลน์ เป็นต้น ทั้งนี้เป้าส่งออกไทยไปตลาดจีนในปีนี้จะมีการประชุมทูตพาณิชย์เพื่อประมาณการณ์อีกครั้งในช่วงปลายปีนี้ จากสถานการณ์ต่างๆ เปลี่ยนไป

ด้านนายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า การส่งออกของไทยไปตลาดจีนมีทิศทางที่ดีขึ้น ตัวเลขเดือนเมษายน 2563 ขยายตัว 9% (รูปดอลลาร์สหรัฐฯ)โดยกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 3 เดือน สินค้าส่งออกสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลไม้สด แช่แข็งและแห้ง รถยนต์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องคอมพิวเตอร์ฯ เป็นต้น ส่งผลให้การส่งออกของไทยไปจีนช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ขยายตัว 1.8% แสดงให้เห็นว่าตลาดจีนมีโอกาสที่จะกลับมาขยายตัวเป็นปกติได้เร็วกว่าตลาดอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศโซนยุโรปและอเมริกาที่ยังมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 เห็นได้จากตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม บริการต่างๆ ของจีนได้เริ่มกลับมาดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง  และมีการนำเข้าสินค้าไทยเข้าไปมากขึ้น

“ภาคเอกชนได้มีการ เตรียมความพร้อมในช่วงครึ่งปีหลัง หลังจากจีนคลายล็อกดาวน์ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในกับลูกค้าจีนในเรื่องของคุณภาพสินค้าไทย เร่งทำประชาสัมพันธ์สินค้าไทยผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ต่อเนื่อง, เร่งจัดงานแสดงสินค้าระหว่างกันมากขึ้นโดยปรับเปลี่ยนรูปแบบการแสดงสินค้าเป็นแบบ virtual exhibition/Online Business matching เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าทั้งสองประเทศได้สะดวกและง่ายที่สุดในช่วงสถานการณ์ยังไม่มีความแน่นอน เป็นต้น

หน้า 8 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40  ฉบับที่ 3,580 วันที่ 4-6 มิถุนายน พ.ศ. 2563


Let's block ads! (Why?)


June 06, 2020 at 07:00AM
https://ift.tt/2z8Tpiv

พาณิชย์สั่งลุย 44 โปรเจ็กต์ ชิงธงตลาดจีน - ฐานเศรษฐกิจ
https://ift.tt/3azMLPC
Home To Blog

No comments:

Post a Comment