Pages

Saturday, May 30, 2020

ตลาด"โรบอต" 2 แสนล้าน สะเทือน วืดสัญญาการบินไทยรอลุ้น EEC - ประชาชาติธุรกิจ

jengkolpasar.blogspot.com

“โรบอท ซิสเต็ม” ใจเสีย หลังสัญญาทำความสะอาดกระจกเครื่องบินเคว้ง หวั่นกระทบตลาดโรบอต 200,000 ล้าน เล็งขายหุ่นยนต์ซ่อมบำรุงให้ ทอ.แทน BOI เผยยอดขอส่งเสริมกิจการหุ่นยนต์ติดลบเกือบ 100% มีแค่โครงการเดียว รอลุ้น EEC รับอานิสงส์โควิด ช่วยฉุดยอดหุ่นยนต์บริการการแพทย์เพิ่มขึ้น

นายกัมปนาท ตันพิทักษ์สิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรบอท ซิสเต็ม จำกัด ผู้ผลิตหุ่นยนต์และระบบของไทย กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” หลังศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้รับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของบริษัทการบินไทย และมีนัดไต่สวนในวันที่ 17 สิงหาคมนี้ว่า ที่ผ่านมาบริษัทกำลังอยู่ในระหว่างการเตรียมเซ็นสัญญาระบบผลิตหุ่นยนต์เพื่อให้บริการทำความสะอาดกระจก

เครื่องบินของการบินไทย โดยบริษัทได้ผ่านการทดสอบระบบเรียบร้อยแล้ว แต่เมื่อการบินไทยเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ อาจมีผลทำให้ดีลการเซ็นสัญญากับบริษัทต้องล่าช้าออกไปอีก

“หุ่นยนต์จะถูกนำไปใช้เป็นตัวเช็ดล้างกระจกเครื่องบินทั้งหมดของการบินไทย เราผ่านการทดสอบประสิทธิภาพไปแล้วว่าสามารถทำความสะอาดชิ้นส่วนต่าง ๆ ทั้งลำได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที ช่วยทำให้ประหยัดเวลาและลดการใช้จำนวนคนลงอย่างมาก แต่ดีลสัญญากับการบินไทยอาจจะต้องล่าช้าไปในระหว่างนี้ แต่ทางบริษัทยังมั่นใจว่าการบินไทยจะกลับมาทำสัญญาซื้อหุ่นยนต์ทันทีภายหลังแผนการฟื้นฟูเสร็จสิ้นก็คงต้องรออีกระยะหนึ่ง” นายกัมปนาทกล่าว

ในภาพรวมอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ถือว่าเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ยังมีโอกาสและมีแนวโน้มเติบโตได้อีก โดยผลจากวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นปัจจัยที่ช่วยให้ความต้องการใช้หุ่นยนต์มากขึ้น ทั้งหุ่นยนต์ผ่าตัด-หุ่นยนต์บริการ ในอุตสาหกรรมการแพทย์เพิ่มขึ้น อีกทั้งการพัฒนาหุ่นยนต์เข้าไปสู่อุตสาหกรรมอากาศยานมีแนวโน้มเติบโตดี โดยล่าสุดบริษัทได้เป็นหนึ่งในบริษัทไทยที่ทำสัญญาขายหุ่นยนต์ให้กับทางบริษัท โรลส์-รอยซ์ จำกัด (Rolls-Royce) ในฐานะเป็นผู้ผลิตและประกอบเครื่องบินรายใหญ่ของโลกจำนวน 3 ตัว เพื่อใช้ในการซ่อมบำรุง เช็ดล้างใบพัดเครื่องบินขนาดเล็ก และในเร็ว ๆ นี้ ทางโรลส์-รอยซ์ เตรียมสั่งซื้อหุ่นยนต์บริการทำความสะอาดจากบริษัทอีกจำนวนหนึ่งเพื่อนำไปใช้งานเช็ดล้างใบพัดขนาดกลางและขนาดใหญ่

“แน่นอนว่าบริษัทเราได้งานของผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ระดับนี้ เพราะเขาเห็นศักยภาพของประเทศไทยเอง เราอาจยังไม่ถึงขั้นไปเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินป้อนให้ใคร ไม่ว่าจะเป็นโรลส์-รอยซ์ แอร์บัส หรือโบอิ้ง แต่เราสามารถใช้ส่วนที่เราเก่งนั่นคือหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้าไปมีส่วนร่วมกับผู้ผลิตเครื่องบินเหล่านี้ได้”

อย่างไรก็ตาม บริษัทกำลังอยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบการใช้หุ่นยนต์เพื่อซ่อมบำรุงและทำความสะอาดให้กับเครื่องบินของกองทัพอากาศไทย (ทอ.) หลังจาก ทอ.เตรียมตั้งหน่วยรับรองมาตรฐาน (Military Aviation Authority : MAA) ขึ้นมา และเปิดให้ SMEs เข้าสู่ระบบจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐได้ ในส่วนนี้จะทำให้อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ตลอดซัพพลายเชน มีโอกาสต่อยอดและเข้าสู่อุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้มากขึ้น จากที่ผ่านมารัฐบาลโดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้ออกมาตรการ

ส่งเสริมประเภทกิจการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ แม้จะยังไม่เห็นภาพการลงทุนจากนักลงทุนรายใหม่มากนัก แต่นับว่ามาตรการนี้ช่วยกระตุ้นให้เกิดดีมานด์ในประเทศเพิ่มสูงขึ้น อาทิ มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ BOI สอดคล้องกับรายงานของ BOI ที่ระบุว่า ในไตรมาส 1/2563 ภาพรวมการขอรับการส่งเสริมการลงทุนมีทั้งสิ้น 378 โครงการ หรือเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 3% โดยมีมูลค่าเงินลงทุน 71,380 ล้านบาท หรือลดลง 44% ในจำนวนนี้มีโครงการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนเพียง 1 โครงการ หรือลดลง 75% จากปี 2562 และมีเงินลงทุน 2 ล้านบาท หรือลดลง 100% จากปีที่แล้วที่มีเงินลงทุนถึง 740 ล้านบาท แต่มีการขอรับส่งเสริมในมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตด้านปรับเปลี่ยนเครื่องจักรจํานวน 8 โครงการ เงินลงทุน 490 ล้านบาท ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าดีมานด์หรือกลุ่มผู้ใช้ในประเทศเริ่มเพิ่มขึ้น โดยสิทธิประโยชน์ในมาตรการเหล่านี้ประกอบไปด้วยการ “ยกเว้น” ภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี เป็นสัดส่วน 50% ของเงินลงทุน “ยกเว้น” อากรขาเข้าเครื่องจักร เป็นต้น

ด้านนายชิต เหล่าวัฒนา ที่ปรึกษาพิเศษด้านพัฒนาการศึกษา บุคลากร และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดหุ่นยนต์ในประเทศมีมูลค่าประมาณ 200,000-300,000 ล้านบาท คาดว่าหลังโครงการก่อสร้างในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) แล้วเสร็จ จะทำให้มีความต้องการหุ่นยนต์และเกิดการลงทุนใหม่ ทำให้มีมูลค่าเพิ่มถึง 500,000 ล้านบาท

“หลังโควิด-19 ทำให้ตลาดหุ่นยนต์ในไทยเติบโตไม่ต่ำกว่า 30% จากการลงทุนหุ่นยนต์ที่ต้องนำมาช่วยเร่งผลิตสินค้าให้ทันต่อความต้องการและทดแทนแรงงานที่กลับภูมิลำเนา” นายชิตกล่าว

ล่าสุด ทาง EEC มีส่วนเข้าไปให้การสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์จำนวนเงิน 8 ล้านบาท ให้กับสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) เพื่อดำเนินการจัดสร้างชุดระบบหุ่นยนต์

“มดบริรักษ์” จำนวน 4 ชุด ให้กับ 4 โรงพยาบาลในพื้นที่ ได้แก่ โรงพยาบาลพุทธโสธร, โรงพยาบาลบางละมุง, โรงพยาบาลชลบุรี และโรงพยาบาลระยอง ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการผลิต คาดว่าจะส่งมอบมดบริรักษ์ให้บุคลากรทางการแพทย์ได้ในเดือนกรกฎาคมนี้

ทั้งนี้ หุ่นยนต์มดบริรักษ์จะใช้สำหรับช่วยบุคลากรทางการแพทย์ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลช่วงสถานการณ์โควิด-19 โดย 1 ชุดจะประกอบด้วยหุ่นยนต์ 3 รูปแบบ คือ หุ่นยนต์ SOFA หุ่นยนต์ผู้ช่วยแพทย์ให้สามารถควบคุมทางไกลจากห้องควบคุมส่วนกลางให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งเป้าหมาย สามารถแสดงข้อมูลการรักษาหรือผลการตรวจที่เชื่อมโยงข้อมูลกับระบบของโรงพยาบาลและสามารถ video call สนทนาโต้ตอบกับผู้ป่วยได้แบบ real time

หุ่นยนต์ CARVER เป็น automated guided vehicle (AGV) ทำหน้าที่ขนส่งอาหาร ยา เวชภัณฑ์ สำหรับผู้ป่วยในหอผู้ป่วย พร้อมฟังก์ชั่นฟอกอากาศและฆ่าเชื้อไวรัสตลอดการปฏิบัติงานผ่านอุปกรณ์ hydroxyl generator และหุ่นยนต์แบบ service robot จะเป็นหุ่นยนต์บริการเฉพาะจุด สามารถเคลื่อนที่ได้อัตโนมัติ โดยการควบคุมทางไกลจากห้องควบคุมส่วนกลาง ส่งยาและอาหารสำหรับผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ และผู้ป่วยสามารถพูดกับหุ่นยนต์เพื่อเรียกแพทย์หรือพยาบาลได้ผ่าน video call

สำหรับแผนการพัฒนาระบบหุ่นยนต์ ได้วางแผนนำเทคโนโลยี 5G มาเสริมความสามารถของชุดหุ่นยนต์ ด้วยการพัฒนาแพลตฟอร์มบนคลาวด์ทำการต่อยอดเพิ่มประสิทธิภาพ อาทิ พัฒนาระบบ teleconference ระบบบันทึกภาพ ควบคุมบริหารจัดการหุ่นยนต์จากส่วนกลางบนคลาวด์ พัฒนาระบบการควบคุมอุปกรณ์ผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ IOT กับอุปกรณ์ตรวจวัดสัญญาณชีพ เพื่อใช้ในการบันทึกสัญญาณชีพและจัดทำระบบวิเคราะห์ด้วยเทคโนโลยีสมองกล หรือ AI ซึ่งจะต่อโดยตรงกับระบบจัดเก็บพันธุกรรม (genomics platform) ในพื้นที่ EEC ด้วย

Let's block ads! (Why?)


May 31, 2020 at 03:29AM
https://ift.tt/36MAt5C

ตลาด"โรบอต" 2 แสนล้าน สะเทือน วืดสัญญาการบินไทยรอลุ้น EEC - ประชาชาติธุรกิจ
https://ift.tt/3azMLPC
Home To Blog

No comments:

Post a Comment